โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง


 สุรีย์พร    14 ก.ค. 2566     อ่านแล้ว 131


 

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดโครงการ ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานทุกท่าน โครงการนี้จัดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2โดยความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นมรดกภูมิปัญญาของคนไทยที่มีมายาวนาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินภารกิจร่วมกับทุกภาคส่วน เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น และเผยแพร่การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่เกิดจากภูมิความรู้ของบรรพชน และถ่ายทอดไปสู่เยาวชนรุ่นหลัง ให้ได้ศึกษาเรียนรู้ และทราบถึงภูมิหลังความเป็นมาของศิลปะและวัฒนธรรมไทย
.
จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้ให้เกียรติมอบ “รางวัลศรีสุวรรณภิงคาร” ให้กับศิลปินพื้นบ้านจำนวน 9 ท่าน ดังนี้
1. นายสมร ศรีทอง สาขาดนตรีและเพลงพื้นบ้าน จังหวัดพิษณุโลก
2. แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สาขาวรรณศิลป์ จังหวัดพิจิตร
3. นายสัญญา พานิชยเวช สาขาวรรณศิลป์ จังหวัดสุโขทัย
4. นายซ่อนกลิ่น พุ่มพร สาขาศิลปะการแสดง จังหวัดอุตรดิตถ์
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธ์หรรษา สาขาศิลปะการแสดง จังหวัดกำแพงเพชร
5. นายนิพนธ์ เที่ยงธรรม สาขาวรรณศิลป์ จังหวัดนครสวรรค์
7. นายนฤเทพ แสงนก สาขาดนตรีและเพลงพื้นบ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์
8. นางประทวย เขน่วม สาขาดนตรีและเพลงพื้นบ้าน จังหวัดตาก
9. นายคมสันต์ จันทรภาค สาขาดนตรีและเพลงพื้นบ้าน จังหวัดอุทัยธานี
ภายในงาน ได้จัดการเสวนาวิชาการ ทิศทางการขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง หัวข้อ “soft power มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การ พัฒนาชาติ” วิทยากรโดย คุณอนุกูล ใบไกล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับคุณนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
.
นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมยังได้รับชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยศิลปินท้องถิ่น 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 9 ชุด ดังนี้
1. เพลงพวงมาลัย จังหวัดพิษณุโลก
2. การแสดงลิเก แสงสว่างดาวร้าย จังหวัดพิจิตร
3. ระบำสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
4. กลองยาวนกขมิ้น จังหวัดอุตรดิตถ์
5. รำวงแม่ปิง จังหวัดกำแพงเพชร
6. การแสดงร่ายรำประกอบเพลงนครสวรรค์วิมานแมน จังหวัดนครสวรรค์
7. ฟ้อนแขบลาน จังหวัดเพชรบูรณ์
8. ระบำทอผ้าใยกัญชง จังหวัดตาก
9. ลิเกพื้นบ้าน เรื่องน้ำตาพ่อ จังหวัดอุทัยธานี
.
ทั้งนี้ ท่านที่สนใจชมการแสดงย้อนหลังสามารถรับชมได้ที่ Page Facebook:คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Faculty of Humanities

 

คลิกที่รูป เพื่อดูรูปขนาดที่ใหญ่ตามขนาดจริง