โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง


 สุรีย์พร    2 ก.ค. 2565     อ่านแล้ว 609


 

 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฏาคม 2565 ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น เครือข่ายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ และ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของชาติ รวมถึงการเผยแพร่ความรู้และการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินท้องถิ่น นำไปสู่การสืบสาน สร้างความรู้ ความเข้าใจตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามยุคสมัย เพื่อสร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
ภายในงาน ได้จัดการเสวนาทิศทางการขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น” โดยได้รับเกียรติจาก
คุณอนุกูล ใบไกล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
และ คุณสุวิมล เกตุศรีบุรินทร์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นวิทยากรให้ความรู้
นอกจากนั้น คณะมนุษยศาสตร์ ๆได้จัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่น ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง “รางวัลศรีสุวรรณภิงคาร” จำนวน 9 ท่าน ดังนี้
1 เรืออากาศตรีประโยชน์ ลูกพลับ สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดพิษณุโลก
2 นายสุรพงศ์ ทิพย์ศิริ สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดอุทัยธานี
3 นางประนอม กาวิใจ สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดอุตรดิตถ์
4 นายคฑาวุฒิ มีมุข สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดนครสวรรค์
5 นายเฉลิมศักดิ์ แหงมงาม สาขาวรรณศิลป์ จังหวัดตาก
6 นายสันติ อภัยราช สาขาวรรณศิลป์ จังหวัดกำแพงเพชร
7 นางเพี้ยม ศิริคำ สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดเพชรบูรณ์
8 นายมณฑล อโหสิ สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดพิจิตร
9 นายสมุทร อิงควระ สาขาดนตรีและศิลปการแสดง จังหวัดสุโขทัย
โดยในงาน ได้มีการนำเสนอการแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำจังหวัด จำนวน 9 ชุด จาก 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้
1 ชุดการแสดงท้องถิ่น การแสดงมรดกภูมิปัญญา “เก้ง”กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จ.พิษณุโลก
2 ชุดการแสดงท้องถิ่น เพลงพื้นบ้านท่าโพ ชุดเพลงรำวงโบราณ จังหวัดอุทัยธานี
3 ชุดการแสดงท้องถิ่น สะล้อ ซอ ซึง ด้นสด จังหวัดอุตรดิตถ์
4 ชื่อชุดการแสดงท้องถิ่น เต้นกำรำเคียว จังหวัดนครสวรรค์
5 ชุดการแสดงท้องถิ่นระบำกระทงสาย จังหวัดตาก
6 ชุดการแสดงท้องถิ่น ระบำ ก.ไก่ จังหวัดกำแพงเพชร
7ชุดการแสดงท้องถิ่นดนตรีพื้นบ้านตุ๊บเก่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
8 ชุดการแสดงท้องถิ่น การแสดงลิเก เรื่องพิจิตรพิสมัย จังหวัดพิจิตร
9 ระบำสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ทั้งนี้ ท่านที่สนใจชมการแสดงย้อนหลังสามารถรับชมได้ที่ Page Facebook:คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Faculty of Humanities

 

คลิกที่รูป เพื่อดูรูปขนาดที่ใหญ่ตามขนาดจริง