About

หลักการและเหตุผล

เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เริ่มต้นขึ้นจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในขณะนั้นมีสมาชิกเพียง 6 สถาบัน แต่มาบัดนี้ เครือข่ายฯ ได้ขยายกรอบความร่วมมือจนมีสมาชิกในปัจจุบันเกือบ 30 คณะวิชา เพื่อร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่สำคัญทางวิชาการ คือ การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ-วิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานระดับชาติหรือนานาชาติปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้มีความเข้มแข็งและก้าวหน้าด้านวิชาการยิ่งขึ้น

การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายความร่วมมือวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 14 ภายใต้แนวคิด Moving from Disruption to Collaboration: The Dynamics of Humanities and Social Sciences ซึ่ง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการ

การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ การบรรยายพิเศษ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษาทั้งจากภายในและภายนอกสถาบัน นอกจากนี้จะมีการประชาสัมพันธ์การจัดประชุมไปยังสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ในประเทศไทยและต่างประเทศ ผ่านเว็บไซต์ โปสเตอร์ จดหมาย และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ดังนั้น คณะผู้จัดงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการสานต่อความแข็งแกร่งด้านวิชาการ-วิจัยในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างต่อเนื่องสู่ระดับสากลต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป รับรู้/ตระหนักถึงความสำคัญขององค์ความรู้ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ช่วยขับเคลื่อนในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจทั้งในบริบทของประเทศไทยและนานาชาติ

  2. เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  3. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาการในศาสตร์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการ-วิจัยของสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ-วิจัยในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  2. ได้องค์ความรู้ในศาสตร์ของสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จากการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปพัฒนา ต่อยอด หรือประยุกต์ในการเรียนการสอนและการวิจัยต่อไป

  3. คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปตระหนักรู้ถึงความก้าวหน้าและความสำคัญในงานวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

HUSOC Communities

  1. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  2. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  3. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

  4. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  5. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  6. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

  7. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  8. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

  9. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

  10. คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

  11. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

  12. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  13. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  14. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  15. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  16. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

  17. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

  18. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  19. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

  20. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  21. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  22. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

  23. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  24. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม